- ประโยชน์ และเทคนิคการเพิ่มเว็บไซต์
-
เมื่อเรามีเว็บไซต์ และต้องการให้เว็บไซต์ของเราให้เป็นที่รู้จัก สารบัญเว็บไซต์ เป็นทางเลือกที่ดี ในการโปรโมทเว็บไซต์อีกทางหนึ่ง และ สนุก! สารบัญเว็บไทย ก็มีบริการรับเพิ่มเว็บไซต์ เพื่อเปิดโอกาศให้ทุกคนที่มีเว็บไซต์ มาโปรโมทเว็บไซต์ได้เช่นกัน มาลองอ่านกันดีกว่าว่า เราจะได้รับประโยชน์อะไร และมีเหตุผลอะไร ทำไมเราต้องมาเพิ่มเว็บไซต์ลงในระบบสารบัญเว็บไทย พร้อมทั้งศึกษาเทคนิคการเขียนรายละเอียดต่าง ๆ ในการเพิ่มเว็บไซต์ เพื่ีอให้ได้รับประโชยน์สูงสุด
ประโยชน์ของ สนุก! สารบัญเว็บไทย
1. เพื่อประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ของเรา ให้เป็นที่รู้จักบนอินเทอร์เน็ต หากเราทำเว็บไซต์แล้ว ก็ต้องโปรโมท ถึงจะมีคนรู้จักเว็บไซต์เรามากขึ้น ดังนั้นการเพิ่มเว็บลงในระบบสารบัญเว็บไทย จึงเป็นการโปรโมทเว็บไซต์ให้เป็นที่รู้จักได้ดีมากอีกทางหนึ่ง
2. จัดเก็บเว็บไซต์ไทยเป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระบบ มีการจัดแบ่งหมวดหมที่่ละเอียด ง่ายต่อการค้นหา พร้อมทั้งมีการเพิ่มเติม ปรับปรุงหมวดหมู่ ตามสถานการณ์ เหตุการณ์ ให้สอดคล้องกับการดำรงชีวิต ของสังคมไทยอยู่ตลอดเวลา
3. ศูนย์รวมเว็บไซต์ไทยที่ใหญ่ที่สุด แหล่งค้นหาเว็บไซต์ไทย ที่รวบรวมเว็บไซต์ไทยไว้มากที่สุด มีเว็บไซต์ใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามาในระบบทุกวัน พร้อมทั้งมีการปรับปรุงข้อมูลเว็บไซต์ ตรวจสอบเว็บไซต์ไม่เหมาะสม หรือเว็บไซต์ที่ไม่สามารถใ้ช้งานได้ และนำออกจากระบบ เพื่อให้ผู้ที่มาค้นหาเว็บไซต์ ได้ข้อมูลและเว็บไซต์ที่มีคุณภาพมากที่สุด
4. แหล่งโปรโมทเว็บไซต์ และทำ SEO กลยุทธ์การทำ Search Engine Optimization (SEO) วิธีหนึ่งคือ การเพิ่มเว็บไซต์ในเว็บไดเร็คทอรี่ หรือสารบัญเว็บต่าง ๆ และการที่เพิ่มเว็บไซต์ลงที่สารบัญเว็บไทยของสนุก! เป็นวิธีที่ช่วยให้ Search Engine เช่น google มาเก็บ Index ได้เร็วมาก จากสถิติเพียงแค่วันเดียวเท่านั้น เว็บไซต์คุณก็ถูก Index และปรากฎในผลการค้นหาใน Search Engine แล้ว
5. ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งกับเว็บไซต์ โดยสามารถแสดงความคิดเห็น พูดคุย สนทนา แนะนำ แก้ไข ร่วมโหวตให้คะแนน เพื่อสร้างสรรค์เนื้อหาที่ดีร่วมกันได้เทคนิคการกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ในขั้นตอนการเพิ่มเว็บไซต์
1. การตั้งชื่อเว็บไซต์
- บริษัท หน่วยงาน องค์กร ให้นำชื่อบริษัท หน่วยงาน หรือชื่อองค์กร มาตั้งเป็นชื่อของเว็บไซต์ได้เลย เช่น บริษัท เอสเอฟพี จำกัด, สมาคมผู้ค้าทองคำ เป็นต้น
- ชื่อควรจะเป็นภาษาไทย เนื่องจากกลุ่มผู้ใช้ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทย และเป็นแหล่งรวมเว็บไซต์ไทย ดังนั้นการตั้งชื่อ ควรตั้งชื่อเป็นภาษาไทย เพราะจะทำให้ผู้ที่เข้ามาใช้งานอ่านง่าย และเข้าใจง่าย
- เว็บไซต์ที่มีตัวเลข ควรจะแปลงตัวเลขเหล่านั้นให้เป็นคำอ่าน เช่น 108-1009.com = ร้อยแปดพันเก้า
- หลีกเลี่ยงอักขระพิเศษ เช่น *, @ ,=, ! , ( ) เนื่องจากจะทำให้เสียพื้นที่ในการเขียนชื่อเว็บที่ถูกต้องจริง ๆ แล้ว อักขระพิเศษเหล่านี้ ยังไม่มีประโชนย์ในการค้นหาเว็บไซต์ด้วย
2. เทคนิคการเขียนรายละเอียดเว็บ การเขียนรายละเอียดของเว็บไซต์ คือ การบอกภาพรวมของเว็บไซต์บริษัท เว็บไซต์สินค้า หรือเว็บไซต์บริการ ในการเขียนรายละเอียดของเว็บไซต์นี้จะเป็นส่วนช่วยให้ผู้ใช้คนอื่นๆ หรือนักเล่นอินเทอร์เน็ต รู้จักเว็บไซต์ของเราแบบกว้างๆ การอธิบายรายละเอียดของเว็บไซต์ที่ดี ควรใส่ข้อมูลที่เป็นความจริง อธิบายแล้วทำให้เห็นภาพรวมของบริษัท สินค้า และบริการ สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในการเขียนรายละเอียดเว็บ คือ การโฆษณาสินค้าของตนเองในช่องรายละเอียด เช่น ราคาถูกที่สุด, ดีที่สุด, ทันสมัยที่สุด, รวดเร็วที่สุด หรือข้อความอะไรก็ตามที่แสดงความเป็นที่สุด
3. เทคนิคการใส่ TAG การใส่ Tag เนื่องจากในระบบสารบัญเว็บไทย 2.0 มีตัวเลือกให้ผู้ใช้สามารถใส่ Tag ได้ 3 คำ ดังนั้น Tag จึงถือเป็นคำที่สำคัญมาก ๆ การกำหนด Tag โดยทั่วไปจะนำคำที่มีความหมายกว้างๆ คำสั้นๆ มาใช้อธิบายเว็บไซต์ของเราโดยภาพรวม ตัวอย่างเช่น ท่องเที่ยว, การศึกษา, โรงเรียน, วัด เป็นต้น และอีกสิ่งหนึ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในการใส่ Tag คือ การนำ Tag ที่เป็นคำเฉพาะเจาะจง จำพวกชื่อบริษัท, ชื่อสินค้า, ชื่อบริการ เนื่องจากคำเหล่านี้เป็นคำที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของเว็บไซต์ของเราเพียงเว็บไซต์เดียว ดังนั้น Tag จำพวกนี้จึงไม่ได้รับความสำคัญจากระบบ จนอาจส่งผลถึงการค้นหาเว็บไซต์ในระบบสารบัญเว็บไทยด้วย
4. เทคนิคการใส่ KEYWORD การใส่ Keyword มีลักษณะ และเทคนิคในการใช้คำคล้ายๆ กับ Tag เพียงแต่สามารถใส่คำได้มากกว่า ดังนั้นผู้ใช้สามารถใส่คำที่มีความหมายกว้างๆ คำสั้นๆ ได้ที่ช่องของ Keyword ด้วย เพียงแต่ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดก็คือ Keyword จะไม่ถูกนำมาแสดงในหน้ารายละเอียดของเว็บไซต์ เท่านั้นเอง